หน่วยที่ 6

หน่วยที่ 6 นวัตกรรมการเรียนการสอน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer assisted instruction: CAI )

ความหมายของคอมพิวเตอร์เฅอร์ช่วยสอน
CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTION
                คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคือบทเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอนที่ถูกจัด กระทำไว้อย่างเป็นระบบมีแบบแผน โดยใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอและจัดการเพื่อให้ ผู้เรียนได้ใช้งานตามความสามารถของตนเองโดยไม่จำเป็นต้องมีทักษะความรู้หรือ มีประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์มากก่อน 
             คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาเพื่อนำมาใช้ใน การเรียนการสอน โดยมีทั้งใช้เป็นสื่อเสริมการสอนที่มีการใช้สื่ออื่น ๆ เป็นกิจกรรมหลัก อยู่แล้วเช่น การใช้เสริมการสอนของครูที่บรรยายในห้องเรียนปกติเป็นต้น หรือการใช้เป็นสื่อหลักในการเรียนการสอนเช่น การใช้เป็นสื่อการและอบรมต่าง ๆ ในลักษณะของการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นการเสริมหรือทดแทนการเรียนการสอนของครูเป็นต้น 
             สรุปได้ว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง สื่อที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการนำเสนอบทเรียนที่ได้มีการจัดลำดับ เนื้อหาและวิธีการนำเสนออย่างเป็นระบบแก่ผู้เรียน โดยผู้เรียนจะมีการโต้ตอบโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ในระหว่างการเรียนได้

วิวัฒนาการและประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI สามารถสรุปความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนพอสังเขป ได้ดังนี้ (ศูนย์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ, 2545)
ปี ค.ศ. 1950 ศูนย์วิจัยของ IBM ได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยงาน ด้านจิตวิทยา นับเป็นจุดเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ปี ค.ศ. 1958 มหาวิทยาลัยฟลอริดา สหรัฐอเมริกา พัฒนา คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ช่วยทบทวนวิชาฟิสิกส์ และสถิติ พร้อมๆ กับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้นำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ปี ค.ศ. 1960 มหาวิทยาลัยอิลินอย จัดทำ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้านจิตวิทยาการศึกษา และวิศวกรรมศาสตร์ ภายใต้ชื่อ PLATA CAI - Programmed Learning for Automated Teaching Operations CAI ปี ค.ศ. 1970 มีการนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้ในทวีปยุโรป โดยฝรั่งเศษ และอังกฤษ เป็นผู้เริ่มต้น
ปี ค.ศ. 1671 มหาวิทยาลัย Taxas และ Brigcam Young ร่วมกันพัฒนา คอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับมินิคอมพิวเตอร์ โดยผสมผสานคอมพิวเตอร์กับโทรทัศน์ ช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ ภายใต้โครงการ TICCIT - Time-shared Interactive Computer Controlled Information Television
ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ อันได้แก่ เทคโนโลยีมัลติมีเดีย เทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารข้อมูล ทำให้สามารถผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและทำการเผยแพร่บทเรียนได้อย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งแนวโน้มในอนาคตต่อไปอันใกล้นี้ เราอาจพบเห็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนำเสนอผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งเราเรียกว่า CAI on Web

เป้าหมายที่สำคัญ
คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา

คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่
1.       สารสนเทศ (Information)
หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง
2.       ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization)
การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
3.       การโต้ตอบ (Interaction)
คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด
4.       การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback)
ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
             สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีการนำเสนอได้หลายรูปแบบด้วยกัน ได้มีการแบ่งรูปแบบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยว ชาญ ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสอนและการเรียนรู้ของ ผู้เรียน แบ่งออกได้หลายรูปแบบเช่น
             1. รูปแบบการสอนเนื้อหา (tutorial) บทเรียนในแบบการสอนแบบนี้จะคล้ายกับการเรียนการสอนให้ห้องเรียน จะมีการให้ข้อมูลพื้นฐานก่อนโดยแบบเนื้อหาความรู้เป็นเนื้อหาย่อย ๆ มีการทบทวนความรู้เดิม หรือให้ความรู้เพิ่มเติมก่อนที่จะเสนอเนื้อหาใหม่ แก่ผู้เรียนในรูปแบบของข้อความ ภาพเสียง หรือทุกรูปแบบรวมกัน แล้วให้ผู้เรียนตอบ คำถาม เมื่อถูก แล้วจึงจะสามารถเข้าสู่บทเรียนต่อไป
             2. รูปแบบแบบฝึกหัด (drill) บทเรียนแบบฝึกหัดเป็นแบบที่ไม่มีการสอนเนื้อหาความรู้แก่ ผู้เรียนก่อน แต่จะมีการให้คำถามหรือปัญหาที่ได้มีการรวบรวมหรือตั้งโจทย์ไว้ก่อนแล้วแก่ ผู้เรียน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แบบปรนัยหลายตัวเลือก แบบจับคู่ แบบถูก-ผิดเป็นด้น ถ้าตอบถูกก็จะได้คำถามใหม่จนกว่าจะได้ผลการตอบในระดับที่น่าพอใจ ดังนั้นผู้ฝึกหัด จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ มาก่อนในระดับที่ดีอยู่แล้วนิยมใช้กับวิชาเช่น คณิตศาสตร์ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์การเรียนคำศัพท์และการแปลภาษา เป็นต้น
             
3. รูปแบบสถานการณ์จำลอง (simulation) เป็นการสร้างกิจกรรมที่ใกล้เคียงกับ ความเป็นจริงมาให้ผู้เรียนได้ศึกษา โดยให้เห็นภาพได้แก่ทักษะและการเรียนรู้ได้โดยไม่ ต้องเสี่ยงภัยหรือเสียค่าใช้จ่ายมากนัก โดยรูปแบบจะประกอบไปด้วย การเสนอความรู้ ข้อมูล การแนะนำผู้เรียนเกี่ยวกับทักษะการแก่ปฏิบัติเพื่อเพิ่มพูนความชำนาญ โดยอาจจะใช้เป็นโปรแกรมย่อย ๆ แทรกอยู่ในลักษณะโปรแกรมสาธิต (demonstration) หรือโปรแกรมทดสอบโดยการสร้างสถานการณ์จำลอง
             4. รูปแบบเกมการสอน (game) เป็นการกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้ได้โดยง่าย สามารถใช้เกมในการสอนและเป็นสื่อที่จะให้ความรู้แก่ผู้เรียนได้เช่นกัน ในเรื่องของกฎเกณฑ์ แบบแผนของระบบ กระบวนการ ทัศนคติตลอดจนทักษะต่าง ๆ และยังเป็นการเพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ได้ดีขึ้น เพราะผู้เรียนจะด้องตื่นตัวอยู่เสมอ
             5. รูปแบบการทดสอบ (test) มิใช่เป็นการใช้เพียงเพื่อปรับปรุงคุณภาพของแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้ของผู้ เรียนเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ผู้สอนมีความรู้สึกเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการทดสอบได้อีกด้วย เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถให้เรา สร้างแบบทดสอบที่มีปฎิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้เรียนได้ซึ่งเป็น เรื่องที่น่าสนุกและน่าสนใจมากกว่า เป็นต้น
             สรุปได้ว่าประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้งหลายรูปแบบ ดังที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น ซึ่งแต่ละประเภทก็มีลักษณะและรูปแบบการนำเสนอบทเรียนที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการออกแบบใช้งานกับผู้เรียน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือความพึงพอใจของผู้เรียน เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษานั้นเอง

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
             คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อนสามารถใช้เวลานอกเวลา เรียนในการฝึกฝนทักษะและเพิ่มเติมความรู้เพื่อที่จะปรับปรุงการเรียนของตน ให้ทัน ผู้เรียนอื่นได้ดังนั้นผู้สอนจึงสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการสอน ซ่อมเสริม หรือสอนทบทวนการสอนปกติใช้ชั้นเรียนได้ โดยที่ผู้สอนไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการสอนซ้ำกับผู้เรียนที่ตามไม่ทัน อีกทั้งผู้เรียนสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไป ใช้ในการเรียนด้วยตนเองในเวลา และสถานที่ซึ่งผู้เรียนสะดวก เช่นที่บ้าน ที่ทำงาน แทน การเข้าชั้นเรียนปกติและยังเลือกเรียนในเวลาที่ต้องการได้ด้วย และถ้าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้รับการออกแบบมาอย่างดีถูกต้องตามหลักการ ออกแบบ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะสามารถจูงใจผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้น ที่จะเรียนและ สนุกสนานไปกับการเรียน

คุณค่าทางการศึกษาของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
                             คอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการศึกษาแต่อย่างใด ได้มีความพยายามในการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนการสอนมานานแล้ว โดยสาเหตุที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้รับความนิยมและจะเป็นสื่อการศึกษาที่ สำคัญต่อไปในอนาคต ก็เนื่องมาจากว่าสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถลดปัญหาทางต้านการศึกษาลงได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการสอนแบบตัวต่อตัวซึ่งในปัจจุบันมีอัตราส่วนระหว่างครู ต่อนักเรียนที่สูงมาก ครูจึงไม่สามารถดูแลนักเรียนแบบตัวต่อตัวได้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึง เปรียบเสมือนทางเลือกใหม่ ที่จะช่วยทดแทนการสอนในลักษณะนี้ได้ ซึ่งนับว่าเป็น รูปแบบการสอนที่ดีมาก เนื่องจากรูปแบบดังกล่าวเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีการโต้ตอบกับ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ทันที นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังสามารถแก้ปัญหาเรื่อง ภูมิหลังต่างกันของผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนย่อมที่จะมีพื้นฐานความรู้ซึ่งแตกต่างกันออกไป คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะช่วยให้ผู้เรียนไต้ศึกษาตามความชอบของตนเอง โดยการเลือกรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับตนเองได้หรือปัญหาการขาดแคลนเวลาที่ ผู้สอนมักประสบกับปัญหาการมีเวลาในการทำงานไม่เพียงพอ ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถช่วยให้ผู้สอนลดเวลาที่ต้องใช้กับนักเรียนได้ โดยให้เรียนด้วยตัวเอง หรือแม้แต่ปัญหาเรื่องการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญสำหรับสถานศึกษาที่อยู่ห่างไกล ในชนบทมักจะประสบปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน ดังนั้นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงเป็นทางออกให้ผู้เรียนได้ โดยทำการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวเป็นสื่อการสอน หรือสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนจำนวนมาก ๆ แล้วส่งไปให้ผู้เรียนได้แทนที่จะต้องเดินทางไปเอง อีกทั้งยังได้ คุณภาพที่เหมือนกันในทุกที่ด้วย 

ข้อดีและข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
             คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนับเป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งนับวันจะมีบทบาทมากขึ้นใน วงการศึกษาเนื่องจากคุณสมบัติและลักษณะพิเศษ ที่สามารถเอื้ออำนวยในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็เป็นเช่นเดียวกับสื่อประเภทอื่น ๆ ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียในการใช้งานดังนี้
             ข้อดี จากการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นเทคโนโลยีใหม่ อีกทั้งแนวโน้มที่เครื่องคอมพิวเตอร์และตัวสื่อที่เป็นซอฟท์แวร์มีราคาถูกลง ผู้เรียนจึงมีโอกาสไค้ใช้มากขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะได้ประสบการณ์ใหม่ เป็นการกระตุ้นและเพิ่มแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียนไค้เป็นอย่างดี อีกทั้งคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ในการแสดงเสียง ภาพ ตลอดจนข้อความที่เคลื่อนไหว ทำให้มีความเหมือนจริงมากขึ้น โดยที่สื่อชนิดอื่น ๆ เพียงชนิดเดียวไม่สามารถทำได้ การเสนอภาพ เสียงอักษร ในเรื่องต่าง ๆ พร้อมกันบน จอภาพเป็นการใช้มัลติมีเดียที่สร้างเสริมประสบการณ์ได้กว้างขวางครอบคลุมได้ มากกว่าครู และยังสามารถบันทึกและตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้เรียนและแสดงให้เห็นได้ทั้ง ในรูปของตัวอักษร ภาพ และแผนภูมิ เป็นการประเมินผลของผู้เรียนตลอดเวลา ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำนายและชี้แนวโน้มของระดับการเรียน หรือความสามารถของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี ตอบสนองปรัชญาการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล โดยผู้เรียนช้าก็สามารถเรียนได้หรือผู้เรียนอ่อนก็สามารถลองผิดลองถูกได้ตาม ความเร็วของแต่ละคน โดยไม่ต้องมีความรู้สึกมีปมด้อยกับเพื่อน เพราะคอมพิวเตอร์จะสนองตอบรายบุคคลได้เป็นอย่างดี อีกทั้งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถปรับเปลี่ยนโปรแกรม และเพิ่มเติมขยายได้อย่างรวดเร็วทำให้สามารถปรับปรุงบทเรียนให้ทันสมัยกับ เหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี ทำให้บทบาทของครูจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการช่วยเหลือ ผู้เรียนที่เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทบาทของครูจะเปลี่ยนไปทำให้ครูมีเวลาใน การติดตามและตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้เรียนแต่ละคนได้มากขึ้น อีกทั้งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะช่วยสร้างเสริมให้ผู้เรียนมีเหตุผล และมีความคิดที่เป็น logical เพราะการโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนจะต้องทำอย่างมีขั้นตอน มีระเบียบและเหตุผลพอสมควร เป็นการฝึกลักษณะนิสัยที่ดีจัดเป็นหลักสูตรที่ซ้อนเร้น โดยที่สามารถ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนได้ 
             ข้อจำกัด ถึงแม้ว่าราคาเครื่องคอมพิวเตอร์และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการ ใช้คอมพิวเตอร์จะถูกลงแล้วก็ตาม แต่การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในสถานศึกษาบางแห่งอาจจะต้องคิดให้รอบคอบเพื่อ ให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษา โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในปัจจุบันยังมีอยู่น้อยมาก เมื่อเทียบกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในด้านอื่น ๆ ทำให้ยังไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้เรียนในวิชาต่าง ๆ อีกทั้งการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีคุณภาพยังต้องอาศัยเวลา และสติปัญญา ความรู้ ความสามารถในต้านต่าง ๆ มากมาย ซึ่งนอกจากจะต้องเชี่ยวชาญต้านเนื้อหาแล้ว ยังต้อง มีความรู้ด้านจิตวิทยาการนำเสนอ การออกแบบภาพ การเขียนโปรแกรมเป็นต้น ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากขึ้น และเป็นไปไต้ยากที่จะทำไต้สำเร็จในคนเดียว นอกจากนั้นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า จึง มีลำดับขั้นตอนในการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้ดังนั้นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วย สอนจึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนไต้โดยผู้เรียน ที่เป็นผู้ใหญ่ บางคนอาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียบตามขั้นตอน ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคในการเรียนได้ (ฤทธิชัย อ่อนมั่ง, 2537, หน้า 8) และที่สำคัญการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนอาจทำให้ การมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน หรือผู้เรียนกับผู้เรียนลดลงได้ โดยหันไปมีปฎิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์แทน ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาอื่นตามมาได้
อุปสรรคในการพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

สรุปหลักการสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ได้ผลดีหรือไม่ ปัจจัยหนึ่งก็คือตัวสื่อเองด้วยว่าได้ ถูกออกแบบมาอย่างถูกต้องตามหลักวิชา และตรงกับกลุ่มเป้าหมายหรือเปล่าด้วย ซึ่งสื่อที่ดีควรจะมีกิจกรรมที่หลากหลาย เหมาะสมกับความแตกต่างของผู้เรียน มีกิจกรรมที่ผู้เรียนมีปฎิสัมพันธ์กับบทเรียน เพราะการมีปฎิสัมพันธ์มีส่วนทำให้เกิดการเรียนรู้ ควรสร้างสื่อให้เร้าใจด้วยข้อความ ภาพ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง ให้เหมาะสมกับเนื้อหาเพื่อจูงใจเมื่อทำถูกเช่น ให้รางวัล คำชม เสียงปรบมือ ให้คำอธิบายเมื่อทำไม่ถูก มีการ เสริมแรงจูงใจทั้งทางบวกและทางลบในการใช้สื่อเพื่อให้เป็นแรงกระตุ้น มีการแบ่ง เนื้อหาเป็นย่อย ๆ เรียงตามลำดับจากง่ายไปสู่ยาก ถ่ายโอนการเรียนรู้เป็นลำดับอย่างเป็น ระบบระเบียบ เพราะความเป็นระบบ ระเบียบจะช่วยให้ผู้เรียนจำได้นานและนำไป ปฏิบัติได้ควรออกแบบให้ผลย้อนกลับทันทีเพื่อเป็นการเสริมแรงและสร้างความพึง พอใจ ให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความสนใจ ความถนัด สติปัญญา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันสามารถเรียนรู้ได้ควรมีกิจกรรมที่ ท้าทายเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้ อยากเห็น พยายามให้มีแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนได้ฝึกบ่อย ๆ และการทำซ้ำ ๆ จะช่วยให้ผู้เรียนจำได้นานและนำไปปฏิบัติจริงได้ และควรมีบทสรุปอย่างเป็นระบบ เพราะการทำให้เป็นระบบระเบียบทำให้ผู้เรียนจำได้ รวมไปถึงให้มีการประเมินผลให้ผู้เรียนรู้ผลทันทีและสามารถจัดลำดับของผู้ เรียนเพื่อให้เกิดความท้าทายเหมือนเกม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น